วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เกาะปันหยี หมู่บ้านกลางทะเล ณ อ่าวพังงา

นี้คือ เกาะปันหยี หมู่บ้านกลางทะเล ณ อ่าวพังงา



ย้อนหลังกลับไปนับร้อยปี บรรพบุรุษของคนปันหยี ซึ่งเป็นครอบครัวชาวชวา จำนวน 3 ครอบครัว อพยพมาจากอินโดนีเซียโดยเรือใบ 3 ลำ เพื่อค้นหาแหล่งทำกินที่ดีกว่าเดิม พวกเขาตกลงกันว่าหากใครพบที่ทำกินก่อน ให้สื่อสัญญาณด้วยการปักธงที่ยอดเขา และในที่สุดครอบครัว "โต๊ะบาบู" ก็พบเกาะหนึ่งก่อนใคร จึงขึ้นไปปักธงไว้ที่ยอดเขา และตั้งชื่อเกาะนั้นว่า "ปันหยี" ที่แปลว่า"ธง"






          พื้นที่ส่วนใหญ่ของ เกาะปันหยี ตั้งอยู่ในทะเลอ่าวพังงา และบริเวณป่าชายเลนอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีหมู่บ้านจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ บ้านท่าด่าน ตั้งอยู่บริเวณน้ำตื้นในอ่าวพังงา, เกาะปันหยี ตั้งอยู่บริเวณน้ำตื้นในอ่าวพังงา, เกาะไม้ไผ่ ตั้งอยู่บนเกาะและป่าชายเลนอ่าวพังงา และเกาะหมากน้อย ตั้งอยู่บนเกาะในอ่าวพังงา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และประมาณร้อยละ 2 นับถือศาสนาอื่น ๆ และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านประมง เป็นหลัก นอกจาก นี้ยังมีการประกอบอาชีพ เช่น ทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว อาชีพรับราชการ การค้าขายและรับจ้าง  
          และด้วยพื้นที่เป็นแผ่นดินอยู่น้อยนิดนี้ ชาว เกาะปันหยี ใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางหมู่บ้านและศาสนา ส่วนบ้านเรือน ร้านค้า และโรงเรียนตั้งอยู่ในน้ำ เดิมทีมีทางเดินเชื่อมถึงกันด้วยสะพานไม้ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสะพานปูนในปัจจุบัน เวลาน้ำขึ้น "หมู่บ้านปันหยี" จึงแลดูเหมือนหมู่บ้านลอยน้ำ แต่พอน้ำลงจะเห็นว่าบ้านนับร้อยหลังนั้น ตั้งอยู่บนเสาที่ปักในเลนมาตั้งแต่อดีต
 



          แปลกไหม? หากเด็ก ๆ บน เกาะปันหยี ไม่เคยเล่นดิน ไม่รู้จักไม้กวาด เพราะที่ เกาะปันหยีไม่มีฝุ่นไม่มีชายหาดและทรายที่สวยงาม แต่ที่ เกาะปันหยี มีแหล่งชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามไม่แพ้ที่ไหน ๆ อีกทั้งวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของผู้คนในสังคม เกาะปันหยี ยังเป็นภูมิคุ้มกันให้ลูกหลานปลอดจากอบายมุข โดยบน เกาะปันหยี ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งไม่ควรที่จะมีใครนำเข้าไปด้วย และถึงแม้จะอยู่ไกลจากฝั่ง แต่ชาวปันหยีก็มีไฟฟ้าใช้เป็นของตัวเอง
 



            อย่างไรก็ตาม นอกจากไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของ หมู่บ้านเกาะปันหยี บ้านกลางน้ำของชุมชนมุสลิม ที่ถูกสร้างอยู่กลางทะเลโดยไม่มีพื้นดินมานานกว่า 200 ปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก แวะมาเยี่ยมชมตลอดปีแล้ว ใกล้ ๆ กันยังมีสถานที่ท่องเที่ยวให้ได้ไปชมกัน เช่น ภูเขาเขียน ซึ่งมีภาพเขียนโบราณเป็นรูปคนและสัตว์ต่าง ๆ เช่น ลิง ปลาโลมา จระเข้ ฯลฯ อยู่ภายในถ้ำ เชื่อกันว่าเป็นภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ก่อนถึงตัวเกาะปันหยีประมาณ 400 เมตร อยู่บริเวณภูเขา ชาวบ้านเลยเรียกกันว่า "เขาเขียน" และ ถ้ำทะลุ มีเป็นลักษณะคล้ายเกาะตั้งอยู่ในทะเล มีช่องว่างระหว่างกลางเรียกว่า ถ้ำทะลุ นักท่องเที่ยวสามารถพายเรือซีแคนนู ชมบริเวณโดยรอบได้





      ที่มา: http://travel.kapook.com/view24220.html 






ตลาดน้ำอโยธยาตลาดน้ำแห่งใหม่ในอยุธยา




          ตลาดน้ำหมู่บ้านปางช้างอโยธยา หรือที่เรียกสั้นๆว่า “ตลาดน้ำอโยธย” เป็นตลาดขายสินค้าล้อมรอบไปด้วยน้ำในรูปแบบของตลาดน้ำ ภายในตลาดน้ำอโยธยามีร้านค้าหลากหลาย อาทิ ร้านขายอาหารคาว หวาน อาหารทะเล เรือขายอาหาร ร้านขายสินค้า OTOP รวมทั้งร้านนวดเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

         ตลาดน้ำอโยธยา ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเจดีย์วัดสามปลื้ม(เจดีย์กลางถนน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หากท่านขับรถมาจากถนนสายเอเชีย เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้มให้ขับรถวนรอบวงเวียนเพื่อเลี้ยวขวาไปตามทางอีกประมาณ 600 เมตรก็จะถึงทางเข้าอยู่ทางขวามือ โดยทางเข้าจะมีป้ายบอกว่า ตลาดน้ำหมู่บ้านปางช้างอโยธยา






           กำแพงอโยธยา สัญลักษณ์ของตลาดน้ำอโยธยา มาที่นี่ต้องถ่ายรูปคู่กับกำแพงนี้

ภายในตลาดน้ำอโยธยา จะประกอบด้วยร้านค้าหลากหลาย โดยทางตลาดทำการแบ่งเป็นโซน และแต่ละโซนก็ทำการตั้งชื่อตามอำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ เป็นต้น





      สิ่งที่น่าสนใจในตลาดน้ำอโยธยา

การแสดงแสงสีเสียง ที่ตลาดน้ำอโยธยาจะมีการแสดงให้ชม โดยจะแบ่งเป็นรอบการแสดง วันจันทร์-ศุกร์ มี 3 รอบในเวลา 12:00 น. 17:00 น. และ 19:00 น. ส่วนในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีการแสดง 4 รอบ ในเวลา 11:00 น. 12:00 น. 17:00 น. และ 19:00 น.





ล่องเรือชมบรรยากาศรอบๆตลาดน้ำอโยธยา สำหรับท่านที่ต้องการชมบรรยากาศรอบๆตลาดน้ำ ก็จะมีเรือไว้บริการ โดยเรือจะล่องไปเรื่อยๆ รอบๆตลาดน้ำ ท่านสามารถชมทิวทัศน์ของตลาดน้ำได้ ในมุมที่ต่างออกไป
การล่องเรือจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ส่วนค่าตั๋ว สำหรับผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาทเท่านั้นเอง



     



ที่มา:http://www.ayutthaya-tour.com/%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2/

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

น้ำตกนางรองสวยมาก

 



 






ที่มา:https://www.google.co.th

ภูชี้ฟ้า จ.เชียงราย

 


        ภูชี้ฟ้า     ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงทางตะวันออกของจังหวัดเชียงราย   อยู่ระหว่างรอยตะเข็บชายแดนไทย – ลาว   ลักษณะเป็นหน้าผาสูงเป็นแนวยาวเลาไปตามแนวชายแดน บริเวณปลายสุดของหน้าผามีลักษณะแหลมคล้ายกับนิ้วมือชี้ยื่นออกไปในอากาศ    เป็นที่มาของชื่อ “ ภูชี้ฟ้า “ จุดที่สูงสุดของภูชี้ฟ้าอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางถึง     ๑,๖๒๘ เมตร   เบื้องล่างของหน้าผาเป็นแอ่งหุบเขา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงตอง   แขวงไชยบุรี   ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว




          ภูชี้ฟ้า   เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดเชียงราย   และเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางที่ชอบความสวยงามของธรรมชาติและยังพอเรี่ยวแรงที่ฝันอยากจะมาสัมผัสกับความงามของสถานที่แห่งนี้สักครั้งในชีวิต   ภูชี้ฟ้า   ถ้าพูดถึงความหนาวเย็นก็คงจะไม่แตกตางอะไรมากหนักกับหลาย ๆ ดอยสูงทางภาคเหนือของไทย   แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับยอดภูแห่งนี้มาตลอดและสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาพบเห็น   ก็คือ   ความสวยงามแปลกตาของหน้าผาสูงที่ยื่นเด่นลอยออกไปในอากาศ   สายลมหนาวที่วูบผ่านมาแล้วเลยผ่านไป   ทิวทัศน์เบื้องล่างคือ ภาพทะเลหมอกและภาพของดวงอาทิตย์สีแดง ที่กำลังเบียดเสียดแทรกตัวออกมาท่ามกลางทะเลหมอกหนา และหุบเขาน้อยใหญ่   ภาพความสวยงามต่าง ๆ เหล่านี้   ได้กลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนมากมายให้หลั่งไหลมาที่นี่   ในแต่ละปีเมื่อลมหนาวมาเยือนจะมีนักท่องเที่ยวมากมายจากทั่วทุกสารทิศ   เดินทางมาสัมผัสกับอากาศหนาวและชมความงามของทะเลหมอกยามเช้าที่ภูชี้ฟ้า   อย่างไม่ขาดสาย   โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาว   บนยอดดอยสูงแห่งนี้แทบไม่มีที่ยืนถ่ายรูป   ทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่ภูชี้ฟ้า   ได้รับการกล่าวขานว่าสวยงามกว่าที่ใด ๆ ในประเทศ   บริเวณทางเดินขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้า   เป็นทุ่งหญ้ากว้าง   มีทุ่งดอกโคลงเคลงขึ้นแซมเป็นระยะ   ออกดอกสีชมพูอมม่วงในช่วงเดือนกรกฎาคม – มกราคม    ช่วงเพิ่มความสวยงามให้กับยอดภูแห่งนี้ได้อีกไม่ใช่น้อย   ระหว่างทางขึ้นมายังภูชี้ฟ้ายังต้องผ่านภูเขาที่มีวิวทิวทัศน์งดงาม หากมาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จะได้ชมความงามของดงดอกเสี้ยวที่ออกดอกสีขาวอมชมพูบานสะพรั่งระหว่างทางขึ้นสู่ภูชี้ฟ้า




         การเดินทาง
ภูชี้ฟ้า อยู่ห่างจากเชียงราย ๑๑๑ กิโลเมตร ปัจจุบันการมาเที่ยวภูชี้ฟ้าสะดวกสบาย   สามารถเดินทางมาได้โดยรถยนต์ จนถึงลานจอดรถบนภู จากนั้น เดินเท้าขึ้นขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้าเพียงแค่ ๗๐๐ เมตร ภูชี้ฟ้า 



ที่มา:http://www.tourdoi.com/doi/phucheefa/index.htm

เทียวเชียงคาน จ.เลย






เชียงคาน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เคยเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือราชอาณาจักรลาวมาก่อน เมืองเชียงคานเก่า หรือเมืองสานะคาม (ชนะสงคราม) ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ทางยุทธศาสตร์สมัยราชอาณาจักรล้านช้าง ถูกก่อสร้างโดย ขุนคาม โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณปีพ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2250 ทางเวียงจันทร์ได้ตั้งเมืองเชียงคานเดิม ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่าน ต่อมา พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทร์ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย แล้วได้กวาดต้อนผู้คนมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เมืองปากเหืองขึ้นกับเมืองพิชัย
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทยยกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครราชสีมา เนื่องจากเจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทร์คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทย หลังจากปราบได้สำเร็จแล้ว ก็ไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาอยู่เมืองปากน้ำเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ไปขึ้นกับเมืองพิชัย
ครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสดมภ์เมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) เป็นจำนวนมาก ครั้นต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคาน หรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายที่อยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2484 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้ 




"เชียงคาน เมืองโบราณ ที่ไม่ล้าสมัย"
         เมืองเชียงคาน ในปัจจุบันเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในสายตาของนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาได้ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งเพิ่งจะมีการจัดงานฉลอง "100 ปี เชียงคาน เมืองโบราณ ริมฝั่งโขง" ไปเมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป


วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทะเลแหวก จังหวัดกระบี่

 
ทะเลแหวก เกาะปอดะ เกาะไก่ เป็นสถานที่ยอดนิยมของกระบี่อยู่ทางทิศใต้ของ อ่าวพระนาง ห่างจากชายฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตรทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมไม่มากนักเมื่อมองจากชายฝั่งจะเห็นทรายขาวได้แต่ไกล บริเวณรอบๆเกาะจะมีแนวปะการังหลากหลายชนิด น้ำทะเลใสสะอาดทำให้บริเวณนี้เป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่น่าสนใจที่สามารถแวะมาเที่ยวชมเกือบตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดปรากฎการณ์ในช่วงน้ำลงบริเวณ เกาะทับเกาะหม้อ และ เกาะไก่ จะเชื่อมต่อกันโดยแนวทรายทำให้เกิดทัศนยภาพที่สวยงาม ดูแปลกตา เรียกว่า "ทะเลแหวก" ซึ่งขณะนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

 
ทะเลแหวก ลึกล้ำเข้าไปกลางทะเลลึกแห่งอันดามัน ช่วงเวลาหนึ่งที่เรานั่งเรือชมเกาะรูปร่างสวยงามแปลกตา ใครจะเชื่อว่า อีกชั่วข้ามเวลาหนึ่งทะเลที่เราผ่านมาชั่วครู่ จะลดระดับน้ำดุจทะเลแหวกออก จนกลายเป็นหาดทรายขาวสะอาดเชื่อมเกาะสามเกาะอย่างอัศจรรย์ ทะเลแหวกเป็นกลุ่มของเกาะ 3 เกาะ ที่มีหาดทรายเชื่อมติดกันได้แก่ เกาะทับ เกาะหม้อ และ เกาะไก่ ท่านสามารถเดินข้ามจากเกาะไก่ไปยังเกาะทับได้ในยามน้ำลง หากจะให้ดีก็ควรจะเป็นในช่วงน้ำลงต่ำสุดในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ในอดีตนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือ มาตกปลา มากางเต้นท์ นอนนับดาวในคืนเดือนแรม หรือชมแสงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ ค้างคืนบนเกาะได้ แต่ปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้นอนค้างแรมบนเกาะแล้ว ทะเลแหวกถือว่าเป็นไฮไลท์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของกระบี่เลยทีเดียว มาเที่ยวทะเลกระบี่ทั้งที ต้องมาเที่ยวทะเลแหวกให้ได้สักหนึ่งหน